วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

นวัตกรรมทางการพยาบาล

เรื่องนวัตกรรมทางการพยาบาล
สารบัญ
                                                                                          
บทนำ                                                                                     
ที่มาและความสำคัญ
คำจำกัดความของนวัตกรรมทางการพยาบาล
ประเภทของนวัตกรรม
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการพยาบาล
บทบาทพยาบาลกับนวัตกรรม
ปัจจัยที่มีผลกระตุ้น/ผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
ผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลปีการศึกษา2551- 2552
ข้อดี ข้อเสีย นวัตกรรมทางการพยาบาล
ที่ปรึกษาโครงการ
คณะผู้จัดทำ
เอกสารอ้างอิง




บทนำ
ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมทางการพยาบาล
วัตถุประสงค์           
                 1. สำรวจความต้องการแหล่งการเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรมทางการพยาบาลของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
                 2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อการเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลทางด้านนวัตกรรมทางการพยาบาล                      
                 3. เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมทางการพยาบาลที่มีคุณภาพของนักศึกษาพยาบาล
 ที่มาและความสำคัญ
                         เนื่องจากปัจจุบันโลกของเราเป็นโลกแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งข่าวสาร และเทคโนโลยี ต่างๆจึงได้มีการนำมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของมนุษย์ซึ่งต้องมีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างเพียงพอ และใน ปัจจุบันการให้บริการทางด้านสุขภาพมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการให้ บริการเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น
เพื่อให้เกิดคุณภาพในการบริการทางการพยาบาล จึงได้มีการผลิต และนำนวัตกรรมทางการพยาบาล มาใช้แต่ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาลยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและแหล่งข้อมูลทั้งอินเตอร์เน็ต และหนังสือ วารสารต่างๆที่สามารถสืบค้นได้ยังมีน้อย ดังนั้นทางวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรทีมสุขภาพจึงได้มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาโครงงานเพื่อสุขภาพให้นักศึกษาพยาบาลในการคิดค้นนวัตกรรมซึ่งคณะผู้จัดทำเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้มีการจัดทำ
เว็ปไซ ์ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมทางการพยาบาลขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้บุคคลที่สนใจสามารถเข้ามา ศึกษาได้อย่างแพร่หลาย





 คำจำกัดความของนวัตกรรม
    นวัตกรรม คือ การคิดสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น
คำจำกัดความของนวัตกรรมทางการพยาบาล
    นวัตกรรมทางการพยาบาล คือ กระบวนการ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ได้สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งเป็นการพัฒนาปรับปรุง ดัดแปลงนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพได้
ประเภทของนวัตกรรม
นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้
1.   นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา 
2.   นวัตกรรมด้านหลักสูตร
3.   นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
4.    นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี  นวัตกรรมด้านการประเมินผล 
5.   นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา 
6.   นวัตกรรมด้านการประเมินผล
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการพยาบาล
   ในปัจจุบันมีการแข่งขันด้านการให้บริการทางการพยาบาลของโรงพยาบาลต่างๆทั้งภาครัฐแลเอกชน จึงได้มีการสร้างนวัตกรรมและมีการสร้างนวัตกรรมและมีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยในการส่งเสริมให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการช่วยยกระดับของโรงพยาบาลให้ดีขึ้นอีกด้วย และต้องการลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพและยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพที่เข้มแข็งและความคุมค่าคุ้มทุนซึ่งจากการศึกษาการเรียนรู้ในการทำงานของพยาบาล พบว่ามีการสร้างความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นเองในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาล

บทบาทพยาบาลกับนวัตกรรม
บทบาทพยาบาลกับ นวัตกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการคิดค้นนวัตกรรม คือ วางแผนการใช้นวัตกรรม บทบาทการมีส่วนร่วมในการคิดค้นนวัตกรรม ทางสุขภาพใหม่ๆ หรือร่วมวางแผนการใช้นวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว
2. ด้านเป็นผู้ใช้นวัตกรรม ควรศึกษานวัตกรรมให้เข้าใจถ่องแท้ ถึงข้อดี ข้อเสีย และเตรียมเจ้าหน้าที่ ให้เข้าใจนวัตกรรมถูกต้องตรงกัน การใช้นวัตกรรมควรยึดหลักการสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นกระบวน การเรียนรู้นวัตกรรมมากกว่าผลงาน
3. ด้านการประเมินผล เมื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในสถานที่บริการทางสุขภาพที่ใดแล้ว ในระยะเริ่มแรก ควรติดตามนิเทศอย่างใกล้ชิด และประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อรู้ข้อดี ข้อเสียของการดำเนินงาน แล้วนำมาแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาต่อไป
ปัจจัยที่มีผลกระตุ้น/ผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
1.การเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี
     ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีส่วนเกี่ยวข้องในบทบาลพยาบาลมากขึ้น ซึ่งทำให้การพยาบาลเกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์และการสาธารณสุขทำให้เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการรักษาเพิ่มขึ้น ประชาชนต้องการรักษาที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริการที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงดังนั้นพยาบาลต้องมีการพัฒนาการพยาบาลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาความรู้และปรับปรุงการปฏิบัติ การพยาบาลให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจในสังคม ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นรายจ่ายทางสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายได้และเศรษฐกิจของผู้รับบริการที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้โรงพยาบาลต้องลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดูแลผู้รับบริการ  รวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อแข่งขันกับโรงพยาบาลอื่น การพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดขึ้นหรือพัฒนาจากที่มีอยู่เดิม ทำให้คุณภาพการดูแลผู้รับบริการได้รับการพัฒนา และยกระดับความสามารถในการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นนับถือของผู้รับบริการและสามารถลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานจากการพัฒนาอย่างคุ้มทุน
2.ระบบการประกันคุณภาพและการแข่งขันระหว่างองค์กรสุขภาพ
   จากการศึกษายุทธศาสตร์การบริการการพยาบาล พ.ศ.2550 มีเป้าหมายสำคัญให้องค์กรพยาบาลและเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ โดยหนึ่งในเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังกล่าว เน้นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการพยาบาลให้สามารถนำไปใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียน รู้ภายในเครือข่ายองค์กรพยาบาลเพื่อให้องค์ความรู้นวัตกรรมทางการพยาบาลได้ถูกนำมาใช้อย่าง
ยั่งยืนในด้านการแข่งขันทางองค์กรสุขภาพการสร้างและพัฒนาทางการพยาบาลรวมถึงนำมาให้ปฏิบัติทางคลินิกจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือบริการทางสุขภาพ เกิดรูปแบบการใช้งานที่ดีกว่าเดิมและมีหลากหลายมากขึ้นเพิ่มขีดความสามารถ และความได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างองค์กรทางสุขภาพ
แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
กระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล จัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญภายหลัง จากการสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาลขึ้นมาแล้ว องค์กรที่มีการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมจะประกอบ ด้วย 8 มิติ ดังต่อไปนี้
1.การร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการพัฒนานวัตกรรม : โดยบุคลากรทุกระดับในองค์กร ควรมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร
2.สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม :สภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้อต่อการพัฒนา นวัตกรรม เช่น พฤติกรรมของสมาชิกในองค์กร การได้รับการฝึกฝน รวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความ คิดเห็น โดยมีการชี้แจงให้เข้าใจถึงประโยชน์ของนวัตกรรม
3.การบริหารทรัพยากร เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมขึ้นในองค์กร:ทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนา นวัตกรรมขององค์กร คืองบประมาณ บุคลากร เวลา และข้อมูลสาระสนเทศ
4.กระบวนการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนานวัตกรรม : สิ่งสำคัญที่องค์กรยุคปัจจุบันต้องเผชิญ คือ การ พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิมากขึ้น โดยนำแนวคิดด้านวัตกรรมลงสู่การปฏิบัติซึ่งจะประสบ ความสำเร็จได้ ต้องมีการสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรทุกหน่วยงานในองค์กร โดยบุคลากรมีส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็น ก่อให้เกิดพลังงานในองค์กร โดยองค์กรต้องมีการให้ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลงาน
5.การกำหนดโครงการพัฒนานวัตกรรม : โครงการพัฒนานวัตกรรมเกิดจากความต้องการ และความสน ใจบุคลากรในหน่วยงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระยะสิ้นสุดของโครงการ
6.การพัฒนาทักษะในการสร้างนวัตกรรม : การพัฒนาทักษะในการสร้างนวัตกรรมพัฒนาได้โดยบุคคล ต้องมีการพัฒนาความคิดของตนเอง และองค์กร ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารเพื่อให้เกิด ความมั่นใจในการพัฒนานวัตกรรม
7.การยอมรับและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม : ผู้บริหารจะต้องให้การยอมรับความคิดสร้าง สรรค์ และสนับสนุนให้รางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจ
8.บุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม : การพัฒนานวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการติดตามข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ให้แก่ ่สนับสนุน รวมทั้งผู้แข่งขัน


  
ผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลปีการศึกษา2551

ชื่อโครงการ A-line หลุด หยุดได้

 







ประโยชน์ : สามารถจำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยในบริเวณที่แทง Arterial line เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของ Arterial line ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และลดปัญหาการเกิด damping ของ arterial waveform จากการหักพับงอข้อมือของผู้ป่วย  
ชื่อโครงการ เสื้อนี้ใส่ drain ได้ดี IV ไม่หลุด

                     
                     
ประโยชน์  : ผู้ใช้บริการที่ได้รับการรักษาด้วยสารละลายทางหลอดเลือดดำใส่เสื้อได้สะดวกมากขึ้นและยังเป็นการป้องกันอันตรายต่างๆ ผู้ใช้บริการที่มีท่อระบายเกิดความสะดวกสบายในการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้รู้สึกไม่รำคาญและช่วยในเรื่องการสูญเสียภาพลักษณ์ได้อีกด้วย 

ชื่อโครงการ  อกอุ่นด้วยเสื้อชั้นใน เพิ่มสายใยด้วยนมแม่


                                                              







                                                  ชุดประคบ
ประโยชน์:   1.ส่งเสริมการไหลเวียนบริเวณเต้านม มารดารู้สึกสุขสบายเต้านม
                    2. เพื่อช่วยลดอาการปวดคัดตึงเต้านม
                    3. เพื่อป้องกันอาการอักเสบจากอาการคัดตึงเต้านม ท่อน้ำนมอุดตัน และเต้านมอักเสบ

ชื่อโครงการ : หมอนข้างสร้างรอยยิ้ม



ประโยชน์ :  ใช้กับผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยให้เตะ  ต่อย หมอนเมื่อมีอาการ ลดพฤติกรรมก้าวร้าว



ชื่อโครงการ  “ชุด Happy Bath
    ( ถุงกันฝน)


ประโยชน์: ช่วยลดความระคายเคืองของผิวหนังจากการติดพลาสเตอร์ และแป้นรองที่อับชื้นจากการที่เช็ดบริเวณรอบแป้นไม่แห้ง ระยะเวลาในการใช้แป้นรองให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

ชื่อโครงการ  ผ้าขวางเตียง.....เคียงข้างหมอน


ประโยชน์: ช่วยพลิกตะแคงตัวหรือเปลี่ยนท่า ลดเกิดแผลกดทับ


ผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาลปีการศึกษา2552


ชิ้นที่ 1 กดตรงจุด หยุดเลือดไหล


ชิ้นที่ 2 Super belt


ชิ้นที่ 3 Safety by Jacket Restraint


ชิ้นที่ 4 ขมิ้นชันลดกลิ่นแผลมะเร็ง

                    
                            ชิ้นที่ 5 พิชิตปลายเท้าจิกด้วยกระดุกกระดิกมอเตอร์



ชิ้นที่ 6  กระปุกน้อย คุม Temp. In CRRT

ข้อดีนวัตกรรมทางการพยาบาล
1. ส่งเสริมให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
   และเป็นการช่วยยกระดับของโรงพยาบาลให้ดีขึ้น
 2. การสร้างนวัตกรรมและมีการพัฒนาองค์กร
   อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
3. ต้องการลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพ
และยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพที่
เข้มแข็งและความคุมค่าคุ้มทุนซึ่งจากการศึกษา
การเรียนรู้ในการทำงานของพยาบาล

ข้อเสียนวัตกรรมทางการพยาบาล
1. ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นรายจ่ายทางสุขภาพ
ที่เพิ่มสูงขึ้น
2. รายได้และเศรษฐกิจของผู้รับ บริการที่มีอยู่
อย่างจำกัด ทำให้โรงพยาบาลต้องลดค่าใช้จ่าย
และต้นทุนในการดูแลผู้รับบริการ


ที่ปรึกษาโครงการ

       ผศ.ดร.     นงลักษณ์    สุวิสิษฐ์                 อาจารย์พยาบาล                            
       อาจารย์    ศรินรัตน์     วัฒนธรนันท์        อาจารย์พยาบาล

คณะผู้จัดทำ
                                                          
            ประธาน       
       1. นางสาวอรุณี                สุธรรม                       
              สมาชิก                                 
       2. นางสาวอรณิชา           ละอองสุวรรณ                   
       3. นางสาวอรุณโรจน์        ฤทธิ์เลิศ        
       4. นางสาวอภิณญา           เชิญชม                                         
              เลขานุการ
        5. นางสาวอมรรรัตน์         ใจเพียร                                                

          นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4    ปีการศึกษา 2552     



เอกสารอ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง.(2543).เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรยุส วัฒนาศุภโชค.(2551).นวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงทิพย์ ชัยพิบาลสกฤษดิ์.(2551).คุณภาพการบริหารการพยาบาล.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:อี พริ้นท์.
วรรณา   ศรีธัญรัตน์และผ่องพรรณ อรุณแสง.(2545).การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรม;การพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุ.      (พิมพ์ครั้งที่1) . ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วีณา จีระแพทย์.(2552).การวิจัยทางการพยาบาลความท้าทายฝ่าวิกฤตสู่สังคมสุขภาวะ.
                 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์.(2548).การสร้างคุณค่าด้วยนวัตกรรม(Value creation through innovation). วารสารพยาบาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,76(7).122-123.
วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช.(2548).ผลกระทบของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อบทบาทพยาบาลในอนาคต.วารสารพยาบาล, 54(1),11-19.
สมลักษณ์ ทองสุข.(2549).องค์การแห่งการเรียนรู้กับการพัฒนาการพยาบาล.วารสารพยาบาลศาสตร(ม.บูรพา),14(2),34-47.
พัชมน    อ้นโต.(2546).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงานระดับในการสร้างนวัตกรรม  ขององค์กรกับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพฯ.วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย.
ชัยยงค์  พรหมวงศ์.(2550).การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการเรียนการสอน.เข้าถึงได้ เมื่อพฤศจิกายน 11,2009 จาก htt://www.portal.in.th
ศิริพรรณ ชาญสุกิจเมธิ.(2551).นวัตกรรมด้านบริการพยาบาล;เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ.เข้าถึงได้เมื่อพฤศจิกายน 11, 2009 จาก  http://www.ns.mahidol.ac.th